วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หัวข้อเรื่อง (Topics)
2.1 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.3 บทบาทของระบบสารสนเทศ
2.4 ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
2.5 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
2.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวคิด (Main Idea)

   ระบบเครือข่าย เป็นการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ อำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่งคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้ รับ-ส่งไฟล์ได้ มีการสื่อสารด้วยระบบบันทึก โน้ต ปฏิทิน การนัดหมาย ข้อมูลลูกค้า สต็อกสินค้า คลังข้อมูลความรู้ ข้อมูลทางบัญชีและการบริหาร การสำรองข้อมูล (Data Backup) ไว้ที่คอมพิวเตอร์ส่วนกลางของสำนักงานสามารถพิมพ์เอกสารไปที่คอมพิวเตอร์ส่วนกลางได้ ส่วนระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ระบบที่ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ข้อมูล และบุคลากรทำงานประสานกันอย่างมีระบบ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้มีการรวบรวม ประมวลผล จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นีะเบียบ แล้วจัดทำเป็นสารสนเทศเพื่อนำไปใช้โดยส่วนต่างๆ ขององค์กร เช่น ผู้บริหารระดับอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อวิเคราะห์หรือสรุปผลสารสนเทศนั้น เพื่อประโยชน์ขององค์กรต่อไป


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)

1. บอกคามหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
2. บอกความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. บอกบทบาทและความสำคัญของระบบสารสนเทศได้
4. บอกระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ได้
5. บอกระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้
6. บอกการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้


เนื้อหาสาระ (Content)

   การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเพื่อเพิ่มขึดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่างๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่างๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
   สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมมูลระหว่างกันและการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้านข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรมและแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
   การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้าง

รูปที่ 2.1 ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
   

   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมากมารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้งๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อหรือต่างบริษัทก็ได้


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีรายละเอียดดังนี้

2.1.1 ความหมายของระบบเครือข่าย
   
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปที่ 2.2 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

   ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System) 

1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย 
        คอมพิวเตอร์ แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า 
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน 


2. ช่องทางการสื่อสาร 
        ช่อง ทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 2.3 ช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานดาวเทียม


 

3. สถานีงาน 
        สถานี งาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host 

2.1.2 อุปกรณ์ในเครือข่าย 

   1. การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ - การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย

รูปที่ 2.4 การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย


   
   2. โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น



                              รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 2.5 การใช้โมเด็มในการติดต่อเครือข่ายระยะไกล



   3. ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ


  
                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฮับ ( Hub)

รูปที่ 2.6 ฮับที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแยกของสาย



   4.ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น


                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

รูปที่ 2.7 ซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย



2.1.3 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เตอร์ (Topology) จำแนกตามลักษณะของการเชื่อต่อดังนี้
   
   1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
        โครง สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ล แต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงาน ของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสีย คือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา



รูปที่ 2.8 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส


2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
        โครง สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละ การเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูล จะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทางในกรณีที่มีเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดี ของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง



รูปที่ 2.9 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน



 3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
        โครง สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมี ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ก็สามารถทำได้ง่าย และไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะ ค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย




รูปที่ 2.10 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว


4. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช (mesh topology)
        โครง สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่าย สายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน




รูปที่ 2.11 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช


 5. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (hybrid topology)
        เป็น โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถของโครงสร้างเครือข่าย คอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบรวมกัน ประกอบด้วยเครือข่าย คอมพิวเตอร์ย่อยๆ หลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันตามความเหมาะสม ทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล




รูปที่ 2.12 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม





   1.ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ มากมาย เช่น 
       - สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆ เฉลี่ยกันไป 
       - สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดร์ฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น 
       - สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว
       - สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม 
       - สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเลคทรอนิคส์ หรือการส่งเสียงหรือภาพทางอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น 
       - ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร 

   
                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครือข่ายท้องถิ่น (lan)

รูปที่ 2.13 เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)


ระบบเครือข่ายแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

   1.1 เครือข่ายไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (client/server) คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) 

เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการ

ตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้เครือข่ายแบบ ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ เหมาะกับระบบเครือข่าย

ที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client) อาจเป็นหลักสิบหลักร้อย 

หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบ

มาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance)และต้องคอยให้บริการทรัพยากร  การให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา

โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้

            เครือข่ายประเภทนี้จะมีเครื่องศูนย์บริการ ที่เรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เชื่อมต่อ โดยเครือข่าย

หนึ่งอาจมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์มากกว่าหนึ่งตัวเชื่อมต่อภายในวงแลนเดียวกัน ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวก็ทำหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกัน เช่น

             1.ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) คือ เครื่องที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย

             2.พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) คือ เครื่องที่บริการงานพิมพ์ให้แก่เครื่องลูกข่าย โดยบันทึกงานพิมพ์เก็บไว้

ในรูปแบบของสพูล (Spool) และดำเนินการพิมพ์งานตามลำดับคิว

             3.ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) คือ เครื่องที่บริการฐานข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย

             4.เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านเว็บเพจขององค์กร เพื่อให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถ

เข้าถึงเว็บขององค์กรได้

             5.เมลเซิร์ฟเวอร์ (Maill Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ที่มีการรับส่ง

ระหว่างกันภายในเครือข่าย


 
                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network)
รูปที่ 2.14 เครือข่ายไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์


 
   1.2 เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจักการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์(Peer) นั่นเอง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่ายประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับผู้ใช้คนอื่นๆ

   
  
                          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ 


รูปที่ 2.15 เครือข่ายเพียร์ทูเพียร์


การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ บางที่ก็เรียกว่า "เวิร์คกรุ๊ป (Work group)" หรือกลุ่มของคนที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประเภทนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพราะต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงทำหน้าที่จัดการเครือข่าย
        ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชัน และระบบรักษาความปลอดภัยเท่ากับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ อาจจะใช้แค่วินโดวส์ 95/98/Me ในขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจต้องใช้วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2002/2003 ซึ่งราคาของระบบปฏิบัติการนี้จะแพงกว่ากันมาก
      เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เหมาะสำหรับสภาแวดล้อมดังต่อไปนี้


มีผู้ใช้เครือข่าย 10 คน หรือน้อยกว่า
มีทรัพยากรเครือข่ายที่ต้องแชร์กันไม่มากนัก เช่น ไฟล์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ซึ้งยังไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ทางด้านนี้โดยเฉพาะ
ยังไม่มีความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
การขยายตัวของเครือข่ายไม่มากนักในอนาคตอันใกล้
     เมื่อสถานการณ์เป็นดังที่ว่านี้ ก็ควรที่จะสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากเหมาะสมกว่าที่จะสร้างเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามากถึงแม้ว่าเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้จะเหมาะกับเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็ก แต่ก็ไม่เหมาะสมกับทุกๆ สภาพแวดล้อมเสมอไปสำหรับองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายใช้ ควรที่จะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการระบบ ซึ่งจะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
ให้การช่วยเหลือผู้ใช้เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ และการใช้เครือข่าย
ดูแลข้อมูลและกำหนดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
สร้างการแชร์ทรัพยากรต่างๆ
ดูแลรักษาซอฟต์แวร์ เช่น การติดตั้งและอัพเกรตซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมทั้งระบบปฏิบัติการ
บำรุงรักษาอุปกรณ์เครือข่าย และแก้ปัญหาต่างๆ ของเครือข่าย
         ในเครือข่ายหนึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถกำหนดการแชร์ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่องตัวเองได้ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะรวมถึงไดเร็คทอรีที่จะแชร์ในฮาร์ดดิสก์ตัวเอง เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมทั่วๆไปของเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ ผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเครื่องจะใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์ตัวเอง ส่วนผู้ใช้ทรัพยากรอื่นจะใช้ทรัพยากรบางส่วนผ่านทางเครือข่าย แต่ถ้าเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะใช้ทรัพยากรว่ายใหญ่เพื่อให้บริการกับผู้ใช้ผ่านทางเครือข่าย ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีคนใช้เครื่องเซร์ฟเวอร์ นอกจากผู้ดูแลระบบที่ใช้เครื่องในการจัดการต่างๆเท่านั้น
       การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล หมายถึง การทำให้ข้อมูลปลอดจากการนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมีสิทธิ ส่วนวิธีการนั้นอาจมีหลายวิธี เช่น การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล หรือกำหนดรหัสลับในการเข้าใช้ข้อมูลที่แชร์ไว้ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมแบบเพียร์ทูเพียร์ ผู้ใช้แต่ละคนต้องกำหนดรหัสลักกับทุกทรัพยากรที่แชร์ไว้ ซึ่งวิธีการนี้ก็ทำให้ไม่สามารถรวมศูนย์ควบคุมเพื่อการรักษาความปลอดภัย การทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดช่องโหว่เ เพราะผู้ใช้บางคนอาจจะไม่ได้กำหนดระดับความปลอดภัยในเครื่องตัวเองเลย ถ้าหากควมปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะเหมาะสมกว่า เพราะง่ายต่อการรักษาความปลอดภัย
      เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ดังนั้นผู้ใช้แต่ละคนควรที่จะได้รับการฝึกอบรมให้เป็นได้ทั้งผู้ใช้และผู้ดูแลระบบในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นการยากเนื่องจากผู้ใช้แต่ละคนอาจมีงานอื่นที่ต้องทำ



   2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 
        เป็น เครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบ เครือข่ายแบบ MAN

                                     
                                    

รูปที่ 2.16 เครือข่ายระดับเมืองหรือเครือข่ายแมน

   
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) 
        เป็น ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม

                  
                                         

รูปที่ 2.17 เครือข่ายระดับประเทศหรือเครือข่ายแวน



2.1.4 ประเภทของเครือข่ายแวน WAN 

   1.เครือข่ายส่วนตัว (private network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น

           การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ และหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้

   2. เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network) หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยแบ่งปันค่าใช้จ่ายไป ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่าง หลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ

ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบในรูปแบบนี้ภายใต้การบริการของ GE (General Electric) ตั้งระบบชื่อ GEIS (GE Information Services Company) สำหรับประเทศไทย เริ่มมีแนวความคิดในการใช้ระบบนี้ในเครือข่าย GINET (Government Information Network) โดยทางเนคเทคจะตั้งเครือข่ายเพื่อการบริการ และให้หน่วยงานต่าง ๆ มาเชื่อมสัญญาณเข้าที่ระบบนี้


2.1.5 ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้

การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก



ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

   อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

- ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง 

และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น

- ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง

- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูล ของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น

- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
- ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ไอที (IT) กำลังได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)จะเป็นตัวที่ทำให้ เกิดความรู้ วิธีการประมวลผล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล ตลอดจนการเรียกใช้ข้อมูล ด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อเราให้ความสำคัญกับเ ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการใช้งานไอที เครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ตนับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือไอที เพราะเราสามารถที่จะใช้งาน หาข้อมูลข่าวสาร และเข้าถึงข้อมูล ได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลเรื่องราวต่างๆ มากมาย ให้เราค้นหา ข่าวสารที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเราสามารถที่จะทราบได้ทันที จึงนับได้ว่า อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคล  


2.1.6 องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

รูปที่ 2.18 ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต



ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System) 
 
   1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย 
        คอมพิวเตอร์ แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า 
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน 
    

                                                     รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 2.19 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Sever)


   

   2.คอมพิวเตอร์ลูกข่าย
เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายซึ่งอาจเรียกว่าเวิร์กสเตชั่นก็ได้โดยมักเป็นเครื่องของผู้ใช้งานทั่วไปสำหรับติดต่อ
เพื่อขอใช้บริการจากเซิร์ฟเวอร์ เครื่องลูกข่ายอาจเป็นคอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถนะสูง ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดสก์ทอปคอมพิวเตอร์ทั่วไปก็ได้

 
                                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์ลูกข่าย

รูปที่ 2.20 คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client)




   2. ตัวกลางและอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Device) หมายถึงอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือส่วนกลางกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เป็นช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล ประกอบด้วย

2.1 โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปแบบสัญญาณข้อมูลระหว่างอะนาล็อกและดิจิทัล ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อนาที (bps) โมเด็มที่มีอัตราความเร็วบิตต่อนาทีสูง เช่น 512 mbps จะรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าโมเด็มขนาด 128 mbps



รูปที่ 2.21 โมเด็ม (Modem)


2.2 สายโทรศัพท์ (Telephone) หมายถึง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งสามารถนำเอาสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องสำหรับเสียบสายเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์



รูปที่ 2.22 สายโทรศัพท์


2.3 สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) เป็นสายสัญญาณอีกชนิดหนึ่งที่ทำจากเส้นใยพิเศษที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าสายโทรศัพท์ทั่วไป


รูปที่ 2.23 สายใยแก้วนำแสง


2.4 คลื่นวิทยุและดาวเทียม (Microwave and Satellite) เป็นระบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟรับ-ส่งสัญญาณแบบไร้สายจากดาวเทียม



รูปที่ 2.24 ดาวเทียว


3. มาตรฐานการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Control/Internet Protocal) หมายถึง    มาตรฐานที่ใช้ควบคุมและกำหนดเงื่อนไขในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่

3.1 มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal) เป็นโพรโตคอลมาตรฐานสำหรับรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3.2 มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) เป็นมาตรฐานสำหรับการสืบค้นข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กำหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือเบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)

3.3 มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal ) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกำหนดวิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล

4. โปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Browser Program) ได้แก่โปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐานเฮชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเรียกว่าเบราว์เซอร์ เช่น Internet Explorer , Mozilla Firfox , Netscape Navigator และ Operaเป็นต้น เบราว์เซอร์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เสมือนอ่านหนังสือทีละหน้า สามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่น ๆ

5. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) หมายถึงหน่วยงาน หรือ องค์กร ผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะเป็นสมาชิกของเครือข่าย ระดับประเทศนั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงไปยังประเทศต่าง ๆ  สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายสำคัญหรือรายใหญ่ที่สุด ของไทย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท.


2.1.7 องค์ประกอบที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

1.คอมพิวเตอร์  เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลต่างๆไปจาก อินเตอร์เน็ตสำหรับคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ถ้าเป็นเครื่อง  PC    ควรจะใช้เครื่องในระดับ  Pentium ที่มีระบบปฏิบัติการ  ตั้งแต่  Windows 95 ขึ้นไป  แต่ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอชนั้นควรใช้  System  7   ขึ้นไป  และควรมีหน่วยความจำตั้งแต่  16  MB  ขึ้นไป

2.  โมเด็ม (Modem)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิตอลจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก ผ่านคู่สายโทรศัพท์  และจะแปลงสัญญาณกลับอีกครั้งให้กับคอมพิวเตอร์ โมเด็มที่เหมาะสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต  ควรมีความเร็วตั้งแต่  33.6  Kbps  ขึ้นไป

3. โทรศัพท์ ในการเชื่อมต่อช่องอินเตอร์เน็ตนั้นจะต้องมีคู่สายโทรศัพท์อย่างน้อย 1  เลขหมาย  เพื่อเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต       

4.  ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  (Internet Service Provider)  หรือ ISP คือผู้ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากประเทศไทยไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ

          หลักการเลือกผู้ให้บริการ  ISP 
          1.  จำนวนคู่สายโทรศัพท์ที่มีให้บริการแก่สมาชิก 
          2.  ความเร็วของสายสัญญาณ และขนาดความกว้างของช่องสัญญาณที่ต่อไปยัง             
               ต่างประเทศ


การพิจารณาเลือกใช้บริการกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(1) ความน่าเชื่อถือ
(2) ประสิทธิภาพของระบบ
(3) หมายเลขโทรศัพท์ เพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการ
(4) อัตราการใช้โมเด็ม อัตราส่วน 4:1 หมายถึง โมเด็ม 1 ตัว ต่อสมาชิก 4 ราย
(5) ค่าบริการ
(6) บริการให้คำปรึกษา
(7) ค่าธรรมเนียมต่างๆ
(8) บริการเสริม เช่น มีพื้นที่ว่างสำหรับการสร้าง Homepage และมี E-mail Address ให้ ด้วยหรือไม่


2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
          ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ


2.3 บทบาทของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ (นำเข้า), จัดการ (ประมวลผล) และเผยแพร่(แสดงผล) ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์


ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก

   2.3.1 ส่วนที่นำเข้า (Inputs) ได้แก่การรวบรวมและการจัดเตรียมข้อมูลดิบ ส่วนที่นำเข้านี้สามารถมีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการโทรเข้าเพื่อขอข้อมูลในระบบสอบถามเบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลที่ลูกค้ากรอกในใบ สอบถามการให้บริการของร้านค้าฯลฯ ขึ้นอยู่กับส่วนแสดงผลที่ต้องการ ส่วนที่นำเข้านี้อาจเป็นขบวนการที่ทำด้วยตัวเองหรือเป็นแบบอัตโนมัติก็ได้ เช่นการอ่านข้อมูลรายชื่อสินค้าและรายราคาโดยเครื่องอ่าน บาร์โค้ดของห้างสรรพสินค้า จัดเป็นส่วนที่นำเข้าแบบอัตโนมัติ

   2.3.2 การประมวลผล (Processing) เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนและการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของส่วนแสดงผลที่มีประโยชน์ ตัวอย่างของการประมวลผลได้แก่การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเลือกทางเลือกในการปฏิบัติงานและการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต โดยการประมวลผลสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น ระบบคิดเงินเดือนพนักงาน สามารถคิดได้จากการนำจำนวน ชั่วโมงการทำงานของพนักงานคูณเข้ากับอัตราค่าจ้างเพื่อให้ได้ยอดเงินรวมที่ต้องจ่ายรวม ถ้าชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์มากกว่า 40 ชั่วโมงอาจมีการคิดเงินล่วงเวลาให้ โดยเพิ่มเข้าไปกับเงินรวม จากนั้นอาจจะทำการหักภาษีพนักงาน โดยการนำเงินรวมมาคิดภาษีและนำเงินรวมมาลบด้วยภาษีที่คำนวณได้ จะทำให้ได้เงินสุทธิที่ต้องจ่ายให้กับพนักงาน

   2.3.3 ส่วนที่แสดงผล (Outputs) เกี่ยวข้องกับการผลิตสารสนเทศที่มีประโยชน์ มักจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือรายงานหรืออาจะเป็นเช็คที่จ่ายให้กับพนักงาน รายงานที่นำเสนอผู้บริหารและสารสนเทศที่ถูกผลิตออกมาให้กับผู้ถือหุ้น ธนาคาร หรือกลุ่มอื่นๆ โดยส่วนแสดงผลของระบบหนึ่งอาจใช้เป็นส่วนที่นำเข้าเพื่อควบคุมระบบหรืออุปกรณ์อื่นๆ ก็ได้ เช่นในขบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ พนักงานขาย ลูกค้า และ นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์อาจจะทำการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบนี้ด้วย จนกระทั่งได้ต้นแบบที่ตรงความต้องการมากที่สุด จึงส่งแบบนั้นไปทำการผลิต จะเห็นว่าแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ได้จากการออกแบบแต่ละครั้งจะเป็นส่วนที่ถูกนำไปปรับปรุงการออกแบบในครั้งต่อๆ ไป จนกระทั่งได้แบบ สุดท้ายออกมา อาจอยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ที่ออกมาจากเครื่องพิมพ์หรือแสดงอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์แสดงผลตัวหนึ่งหรืออาจจะอยู่ในรูปของรายงานและเอกสารที่เขียนด้วยมือก็ได้


2.4 ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์


ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

   2.41 ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา 

   2.4.2 ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ

   2.4.3 ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง

   2.4.4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ

   2.4.5 ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
   2.4.6 การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้


                                                   

รูปที่ 2.25 การสื่อสารข้อมูลและระบบสารสนเทศ

2.5 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบ สารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

2.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์ 
              เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้  
               - ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
               - การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
               - สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ 
               - เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
               - เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
               - ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

ประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
             กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม 
              เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ 
             การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Menufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน 
  
ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน 
             ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ

             กล่าวโดยสรุปคือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 12 การแก้ไข ตกแต่ง และการฉายสไลด์จากโปรแกรมการนำเสนอผลงาน

ในการสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint นอกจากการป้อนข้อมูลรูปาภพ กราฟ หรือข้อมูลใดๆ ลงบนสไลด์แล้ว ยังสามารถแก้ไข ตก...