3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
3.2 เว็บไซต์และโปรแกรมเว็บเบราเซอร์
3.3 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สารบบเว็บ
3.4 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น
3.5 ตัวอย่างเว็บไซต์ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งของไทยและของต่างประเทศ
แนวคิด (Main Idea)
ปัจจุบันระบบการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นการค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้รับการยอมรับกว้างขวาง การสืบค้นข้อมูลช่วยทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการ ประหยัดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นหาข้อมูลในห้องสมุด และที่สำคัญที่สุดยังเป็นการช่วยพัฒนางานอาชีพในการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีข้อมูลให้เลือกใช้ได้อย่างมหาศาล ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถในการเลือกค้นหาข้อมูลสาสนเทศและเข้าถึงได้อย่างชำนาญและถูกต้อง
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
1. บอกความหมายของอินเทอร์เน็ตได้
2. บอกความหมายของเว็บไซต์และโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้
3. อธิบายการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สารบบเว็บได้
4. อธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้นได้
5. ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งของไทยและของต่างประเทศได้
เนื้อหาสาระ (Content)
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญและได้รับการยอมรับอบ่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นแหล่งเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถสืบค้นและศึกษาได้โดยไร้ขีดจำกัด ผู้ที่มีข้อมูลหรือความรู้มากย่อมเป็นผู้ที่ถือว่ามีความได้เปรียบในการประกอบธุรกิจต่างๆ และส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
3.1.1 ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้
ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
3.1.2 ความสามารถของระบบอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
- การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
- สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
- สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
ด้านสนับสนุนการศึกษา
การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสาร เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการส่งการบ้าน นัดหมาย อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งการแจกจ่ายที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ หรือที่อยู่บนเวิลด์ไวด์เว็บ เนื่องจากมีความสะดวก คือใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ผู้รับไม่จำเป็นต้องรอรับข้อมูลอยู่เหมือนการใช้โทรศัพท์
นอกจากนี้ ยังมีบริการทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักการศึกษาอีกประเภท คือ LISTSERV ซึ่งเป็นบริการที่อนุญาตให้นักการศึกษาสามารถสมัครเป็นสมาชิก ของกลุ่มสนทนา(Discussion Group) ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน โดยผู้สนใจจะต้องส่งอีเมล์ไปยังที่อยู่ของกลุ่มสนทนา ซึ่งจะนำที่อยู่อีเมล์ของผู้สนใจไปใส่ไว้ใน ลิสต์รายชื่อสมาชิก (Mailing list) เมื่อมีผู้ส่งข้อความมายังกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะทำการคัดลอกและจัดส่งข้อมูลนี้ไปตามลิสต์รายชื่อสมาชิกที่มีอยู่ จะทำให้เรารับทราบข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา
นอกจากนี้ ยังมีบริการทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักการศึกษาอีกประเภท คือ LISTSERV ซึ่งเป็นบริการที่อนุญาตให้นักการศึกษาสามารถสมัครเป็นสมาชิก ของกลุ่มสนทนา(Discussion Group) ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน โดยผู้สนใจจะต้องส่งอีเมล์ไปยังที่อยู่ของกลุ่มสนทนา ซึ่งจะนำที่อยู่อีเมล์ของผู้สนใจไปใส่ไว้ใน ลิสต์รายชื่อสมาชิก (Mailing list) เมื่อมีผู้ส่งข้อความมายังกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะทำการคัดลอกและจัดส่งข้อมูลนี้ไปตามลิสต์รายชื่อสมาชิกที่มีอยู่ จะทำให้เรารับทราบข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา
การเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ในประเทศไทยการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นในลักษณะของการเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ให้แก่สมาชิกเครือข่าย หรือประชาชนผู้สนใจทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้จัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยว กับอินเตอร์เน็ต โดยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาต่างๆ ให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเตรียมให้มีความพร้อมในการที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใน การค้นคว้าวิจัย หรือทำรายงาน ในรายวิชาต่าง ๆและที่สำคัญ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในประเทศไทยการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นในลักษณะของการเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ให้แก่สมาชิกเครือข่าย หรือประชาชนผู้สนใจทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้จัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยว กับอินเตอร์เน็ต โดยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาต่างๆ ให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเตรียมให้มีความพร้อมในการที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใน การค้นคว้าวิจัย หรือทำรายงาน ในรายวิชาต่าง ๆและที่สำคัญ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษา ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ ในลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น จากการอภิปรายผ่านอีเมล์ การเสนอความคิดเห็นในกลุ่มสนทนา หรือการนำเสนอข้อมูลบนเว็บ เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ตกับการศึกษา
1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ไปใช้ทางการศึกษาได้
2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต มีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้ ้
3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้นโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพวีดิโอทัศน์ และเสียงผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย
6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้
ข้อพึงระวังในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
1. การสืบค้นข้อมูล เนื่องจากข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กร หรือสถาบันใด และเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้เครือข่ายทุกคนมีสิทธิที่นำเสนอความคิดเห็น เผยแพร่ข่าวสารอย่างเป็นอิสระ ดังนั้น ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลและใช้วิจารณญาณในการเลือกสรรเอาเอง
2. การติดต่อสื่อสาร แม้ว่าการส่งอีเมล์จะเป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่แสนสะดวกสบาย แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง คือ ผู้รับไม่สามารถสังเกตการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง หรือน้ำเสียง ประกอบของผู้ส่งได้เลย ดังนั้น การเขียน หรือ พิมพ์ข้อความใด ๆ ในอีเมล์จึงจำเป็นต้องเขียนให้ชัดเจน กระชับ และถูกกาลเทศะ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้
3. การเผยแพร่ข้อมูล เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายไร้พรหมแดน ที่ไม่มีเจ้าของ และไม่ขึ้นกับกฎระเบียบขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ดังนั้น ผู้ใช้เครือข่ายที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร หรือนำเสนอข้อคิดเห็นใด ๆ บนเครือข่ายจึงจำเป็นจะต้องมีจรรยาบรรณในการใช้อินเตอร์เน็ต โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการนำเสนอข้อมูลที่ไม่เหมาะสม คลาดเคลื่อน หรือที่อาจกระทบกระเทือน หรือสร้างความเสียหายต่อผู้อื่นได้
3.2 เว็บไซต์และโปรแกรมเว็บเบราเซอร์
เว็บไซต์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจมีหน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทาง ไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
3.2.1 การเข้าเว็บไซต์
เริ่มจากรู้จักเว็บไซต์หรือเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW.) หมายถึงการบริการข้อมูลที่เชื่อต่อด้วยไฮเปร์ลิงค์ โดยมีโฮสต์ที่ทำหน้าที่บริการข้อมูล เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ลักษณะของ เวิลด์ไวด์เว็บจะนำเสนอข้อมูลในลักษณะหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web Page) เปรียบเสมือนหน้าหนังสือ ซึ่งสามารถบรรจุข้อความ รูปภาพ และเสียงไว้ได้ด้วยหน้าแรกของเว็บเพจ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) เมื่อนำเอาเว็บเพจหลายๆ หน้ามรวมกันไว้ในแหล่งเดียวกัน เรียกว่า เว็บไซต์ (Web Site) ผ่านไปยังเว็บเซร์ฟเวอร์นั้นๆ ซึ่งที่อยู่นี้เรียกเป็นภาษาอินเทอร์เน็ตว่า ญูอาร์แอล (Unifrom Resource Locate : URL) ซึ่งแตะละยูอาร์แอลจะมีชื่อไม่ซํ้ากัน
รูปที่ 3.1 เว็บไซต์ www.kapook.com
3.2.2 การใช้งานเบราเซอร์
เบราเซอร์ (Browser) เป็นชื่อที่ใช้เรียกโปรแกรมที่เราใช้ท่องเว็บกัน ซึ่งชื่อนี้หลายท่านไม่คุ้นและไม่รู้จัก ส่วนมากเวลาถามว่าใช้อะไรเล่นเน็ตก็มักจะได้คำตอบว่า IE บ้าง Chrome บ้าง Firefox บ้าง แต่พอถามว่าใช้เบราเซอร์อะไร กลับได้รับคำตอบคือ งงๆๆๆ อะไรคือเบราเซอร์?
เบราเซอร์ (Browser) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์ เบราเซอร์มีความสามารถในการเปิดดูไฟล์ต่างๆ ที่สนับสนุนเช่น Flash JavaScript PDF Media ต่างๆ ซึ่งเบราเซอร์มีหลายตัวและความสามารถของแต่ละตัวก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาเบราเซอร์ พัฒนาให้มีความสามารถอะไรบ้าง เบราเซอร์มักใช้เปิดดูเว็บเป็นส่วนใหญ่ และการใช้งานต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มักจะทำผ่านเบราเซอร์ เช่น การดูภาพยนตร์ผ่าน Youtube การส่งเมล์ การซื้อขายสินค้าในระบบ e-commerce การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) การดาวน์โหลดไฟล์ การเล่นเกมผ่านเน็ต การเรียนออนไลน์ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ทำผ่านเบราเซอร์ทั้งสิ้น
หลักจากที่เราเข้าใจความเป็นมา และการใช้งานในอินเทอร์เน็ตมาแล้ว โปรแกรมที่เราควรจะรู้จักให้ดียิ่งขึ้น ก็คือโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต โปรแกรมนี้จะมีความสามารถมากมายที่จะเป็นประโยชน์ในการท่องเว็บ
เหล่านี้จะต้องมีการปรับปรุงบ่อยๆเพราะมีเว็บไซต์เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลานอกจากการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์
ของตนเองแล้ว Search Engine ยังอาจจะใช้วิธีการค้นหาจากฐานข้อมูลของ Search Engine ตัวอื่นๆแล้วนำมา
บริการก็ได้ ในการสร้างฐานข้อมูลของ Search Engine นั้นจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า สไปเดอร์ (Spider)หรือโรบอต(Robot)ทำการสำรวจไปยังเว็บไซต์ต่างๆทั่วอินเทอร์เน็ตแล้วนำข้อมูลของเว็บไซต์นั้นมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเองเมื่อผู้ใช้ป้อน
Keyword ของข้อมูลที่ต้องการค้นหาเข้าไป Search Engine ก็จะนำไปค้นหาในฐานข้อมูลที่มีอยู่ ผลที่ได้จาก การค้นหาก็คือรายการของเว็บไซต์ที่มี Keyword ดังกล่าวอยู่
โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ มีหลายชนิด เช่น Netscape Communicator, Internet Explorer, Opera เป็นต้น แต่ที่เรารู้จักดีและเป็นที่นิยมใช้งานคือ Internet Explorer เพราะคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Windows เช่น Windows 98, Windows me, Windows xp ฯลฯ ซึ่งระบบปฏิบัติการเหล่านี้ก็จะมีโปรแกรม Internet Explorer แถมมาให้อยู่แล้ว เพราะเป็นโปรแกรมที่สร้างโดยบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน
3.3 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สารบบเว็บ
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแยกเป็นหมวดหมู่ แบ่งตามลักษณะเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นว่ามีเนื้อหาเน้นไปทางใดมาเก็บไว้ในหมวดเดียวกัน ซึ่งข้อดีของการค้นหาในแบบหมวดหมู่ นั่นคือ ทำให้ค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วหากข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจของคนทั่วไป หากสนใจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเลือกเข้าไปในหมวดหมู่เรื่องที่สนใจ ซึ่งจะมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเก็บไว้ในนั้นมากมาย แต่ข้อเสียของการค้นหาประเภทนี้ก็คือ ถ้าเรื่องที่สนใจนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไปก็จะไม่ปรากฏหมวดหมู่สำหรับเรื่องนั้น ให้ค้นหาเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่เว็บไซต์ที่น่าสนใจ ได้แก่
- www.yahoo.com
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลในการค้นหาอย่างมากมายและผู้ใช้มากถึง200,000คนต่อวัน
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลในการค้นหาอย่างมากมายและผู้ใช้มากถึง200,000คนต่อวัน
- www.looksmart.com
เว็บไซต์ที่เก็บรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆไว้มากกว่า 200,000 เว็บไซต์
เว็บไซต์ที่เก็บรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆไว้มากกว่า 200,000 เว็บไซต์
- www.snap.com
เว็บไซต์ที่มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
เว็บไซต์ที่มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
- www.sanook.com
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ยอดนิยมของไทย
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ยอดนิยมของไทย
- www.108-1009.com
เว็บไซต์ที่มีมากกว่า 4000 การเชื่อมโยง(Link) และยังมีชื่ออยู่เบอร์ ICQ ในประเทศ
เว็บไซต์ที่มีมากกว่า 4000 การเชื่อมโยง(Link) และยังมีชื่ออยู่เบอร์ ICQ ในประเทศ
- www.pattayadirectory.com
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัทยาได้ครบที่สุด
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัทยาได้ครบที่สุด
- www.siaminside.com
เว็บไซต์ให้บริการค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยเฉพาะ
เว็บไซต์ให้บริการค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยเฉพาะ
- www.thaiall.com
เว็บไซต์ที่มีข้อมูลมากมายบริการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมประเทศไทย
เว็บไซต์ที่มีข้อมูลมากมายบริการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมประเทศไทย
- www.thaitop.com
หนึ่งในเว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูลตามหมาวดหมู่ที่สมบูรณ์ของไทย
หนึ่งในเว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูลตามหมาวดหมู่ที่สมบูรณ์ของไทย
- www.i-kool.com
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์อีกเว็บหนึ่งของไทย
เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์อีกเว็บหนึ่งของไทย
3.4 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น
การทำงาน เว็บไซต์ที่ให้บริการการค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ดังกล่าวจะมีโปรแกรมชนิดหนึ่งที่เขียนขึ้นเพื่อช่วยในการ
ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต การทำงานของSearch Engineนั้นจะเริ่มจากการหาเว็บไซต์ต่างๆในอินเทอร์เน็ตว่ามีเว็บไซต์์อะไรแล้วสร้างเป็นฐานข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆขึ้นมาเก็บไว้เพื่อใช้ในการค้นหาตามความต้องการของผู้ใช้ ฐานข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการปรับปรุงบ่อยๆเพราะมีเว็บไซต์เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลานอกจากการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์
ของตนเองแล้ว Search Engine ยังอาจจะใช้วิธีการค้นหาจากฐานข้อมูลของ Search Engine ตัวอื่นๆแล้วนำมา
บริการก็ได้ ในการสร้างฐานข้อมูลของ Search Engine นั้นจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า สไปเดอร์ (Spider)หรือโรบอต(Robot)ทำการสำรวจไปยังเว็บไซต์ต่างๆทั่วอินเทอร์เน็ตแล้วนำข้อมูลของเว็บไซต์นั้นมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเองเมื่อผู้ใช้ป้อน
Keyword ของข้อมูลที่ต้องการค้นหาเข้าไป Search Engine ก็จะนำไปค้นหาในฐานข้อมูลที่มีอยู่ ผลที่ได้จาก การค้นหาก็คือรายการของเว็บไซต์ที่มี Keyword ดังกล่าวอยู่
SearchEngine แต่ละตัวมีข้อดีในการสืบค้นและวิธีการในการสืบค้นที่แตกต่างกันตลอดจนมีการจัดทำส่วนพิเศษต่างๆในการสืบค้น
เพื่อช่วยผู้ใช้ และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับการค้นหา ดังนี้ คือ
เพื่อช่วยผู้ใช้ และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับการค้นหา ดังนี้ คือ
1. วิธีการใช้ Search Engine แต่ละเว็บไซต์Search Engine แต่ละตัวจะมีส่วนช่วยในการอธิบายวิธีใช้ในส่วนที่เรียกว่า Help หรือAbout เช่น Yahoo
มีวิธีกำหนดคำค้นเพื่อให้ได้ผลค้นที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงต่อความต้องการ ดังนี้
1.1 ใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) เพื่อค้นหาคำที่มีการสกดคล้ายกัน เช่น smok* หมายความว่า ให้ค้นหาคำทั้งหมดที่ขึ้นด้วย 5 ตัวอักษรแรก เช่น smoke smoker เป็นต้น1.2 ใช้เครื่องหมาย + สำหรับกำหนดให้แสดงผลการค้นเฉพาะเว็บไซต์ ที่ปรากฏคำทั้งสองคำ
เช่น Secondary + education
1.3 ใช้เครื่องหมาย “ ” สำหรับการค้นหาคำที่เป็นวลี เช่น “great barrier reaf” ฯลฯ
2.การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic)เพื่อให้สามารถกำหนดการค้นหาที่แคบเข้ามา โดยใช้คำ AND OR NOT เข้าช่วยในการกำหนดคำค้นเพื่อให้สามารถค้นหาได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
การใช้ ANDการกำหนดใช้ AND
จะใช้เมื่อต้องการกำหนดให้ค้นรายการที่ปรากฏคำที่มีความเกี่ยวข้องกัน ในรายการเดียวกัน เช่น water and soilการกำหนดแบบนี้หมายความว่าผลการค้นต้องการคือเฉพาะรายการที่มีคำว่า water และ soil เท่านั้นหากรายการใดที่มีแต่คำว่า water หรือ soil ไม่ต้องการ
การใช้คำว่า ORการใช้ OR เป็นการขยายคำค้นโดยกำหนดคำหลายที่เห็นว่ามีความหามายคล้ายกันหรือสามารถสะกดได้หลายแบบ
การใช้ NOTการใช้ NOT จะใช้ในเมื่อต้องการจำกัดการค้นเข้ามาคือไม่ต้องการรายการที่มีเนื้อหาส่วนที่ไม่ต้องการปรากฏอยู่ โดยกำหนดให้ตัดคำที่ไม่ต้องการออกเช่นwater not soilการกำหนดคำแบบนี้ หมายถึง
1.ให้ค้นหารายการที่มีคำว่า water แต่หากรายการใดมีคำว่า soil อยู่ด้วย ไม่ต้องการ
2.ผลสืบค้นที่ได้ทุกรายการที่มีคำว่า water และหากมีคำว่าSoil ให้คัดออกทุกรายการ
เว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลแบบเครื่องมือช่วยค้น (Search Engine) ที่น่าสนใจ ได้แก่
- www.google.com
เว็บไซต์ที่ใช้สืบค้นข้อมูลที่นิยมกันมาก เพราะสืบค้นได้ดี จัดเรียงข้อมูลเป็นระบบ ค้นหาด้วยคำภาษาไทยได้
- www.altavista.com
เครื่องมือช่วยค้นหายอดนิยมอันดับต้นๆ
- www.ecite.com
การหาข้อความที่หาความสัมพันธ์กับกลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- www.infoseek.com
เว็บไซต์เพื่อการค้นหาข้อมูลที่มีรายละเอียดของเว็บต่างๆ ถึง 30 ล้าน เว็บไซต์
- www.lycos.com
เครื่องจักรค้นหาที่ได้รับความนิยมเท่ากับ Yahoo.com
- www.hotbot.com
เว็บไซต์ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่
- www.thaiseek.com
เครื่องจักรค้นหาและรวมสารบบของไทย
- www.madoo.com/search
เว็บไซต์ที่รวมเว็บไซต์เครื่องมือช่วยค้น
- www.siamguru.com
เว็บไซต์ใหม่ที่กำลังมาแรงในแบบเครื่องมือช่วยค้นหา
- www.asialycos.com
เว็บไซต์เครื่องมือช่วนค้นหาที่ทำเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ
3.5 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งของไทยและของต่างประเทศ ดังนี้
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งของไทยและของต่างประเทศ ดังนี้
3.5.1 ตัวอย่างเว็บไซต์ของประเทศไทย
- www.thaiall.com
- www.siamguru.com
- www.sanook.com
- www.thaiseek.com
- www.thaifine.com
- www.siam-search.com
- www.thaihostsearch.com
- www.thaiall.com
- www.sansarn.com
- www.tanglad.com
รูปที่ 3.2 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.thaiall.com
รูปที่ 3.3 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.siamguru.com
3.5.2 ตัวอย่างเว็บไซต์ของต่างประเทศ
- www.go.com
- www.altaviata.com
- www.lycos.com
- www.vivisimo.com
- www.google.com
- www.yahoo.com
- www.msn.com
- www.search.com
- www.excite.com
- www.hotbot.com
รูปที่ 3.4 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.excite.com
รูปที่ 3.5 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.yahoo.com
รูปที่ 3.6 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.altaviata.com
รูปที่ 3.7 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.vivismo.com
รูปที่ 3.8 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.hotbot.com
รูปที่ 3.9 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.google.com
รูปที่ 3.10 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.altavista.com
รูปที่ 3.11 ตัวอย่างเว็บไซต์ www.lycos.com